โรงพยาลาลปราสาท บริการด้วยใจ ห่วงใยสุขภาพ

วันเสาร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ไข้เลือดออก

บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง : การเปรียบเทียบการวินิจฉัยไข้เลือดออกของโรงพยาบาลปราสาทกับเกณฑ์ของ
องค์การอนามัยโลก
ผู้วิจัย : จรรยารัตน์ ดวงใจ
การวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความถูกต้องของการวินิจฉัยโรคไข้เลือดออกตาม
เกณฑ์ขององค์การอนามัยโลกของโรงพยาบาลปราสาท ศึกษาการได้รับการตรวจเบื้องต้นและการตรวจเบื้องต้นทางห้องปฏิบัติการของ ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก จำนวน 341 ราย ที่มีวันเริ่มป่วยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2549 ถึง 31 กรกฎาคม 2550 เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบสวนโรคไข้เลือดออกเฉพาะรายและตารางเปรียบเทียบการวินิจฉัยโรคไข้เลือดออก ตามเกณฑ์ WHO วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า มีความถูกต้องของการวินิจฉัยผู้ป่วยโรคไข้เดงกี่ DF ตามเกณฑ์ WHO ร้อยละ 56.8 ความถูกต้องของการวินิจฉัยผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก DHF ตามเกณฑ์ WHO ร้อยละ 70.5 ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกได้รับการตรวจทูนิเกต์ ร้อยละ 61.6 ตรวจเม็ดเลือดขาว (WBC) ร้อยละ 74.2 ตรวจเกล็ดเลือด (platelet) ร้อยละ 96.2 และได้รับการตรวจความเข้มข้นของเลือด (Hct.) ร้อยละ 97.4 จึงควรกำหนดเป็นนโยบายหรือแนวทางแก่แพทย์ผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลให้ใช้ เกณฑ์การวินิจฉัยโรคไข้เลือดออกของ WHO เป็นแนวทางในการวินิจฉัยโรคผู้ป่วยไข้เลือดออก

บทนำ
ในปัจจุบันจึงนับได้ว่า DF/DHF เป็นโรคติดเชื้อที่นำโดยยุงลาย (Aedes aegypti) ที่มีความสำคัญมากทีสุด โดยพิจารณาทางด้านสาธารณสุขที่มีผู้ป่วยในแต่ละปีเป็นจำนวนมาก และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ และทางด้านการแพทย์ ผู้ป่วยไข้เลือดออกเดงกีที่รุนแรงอาจเกิดภาวะช็อกซึ่งเป็นผลจากการรั่วของพลาสมา ทำให้ถึงเสียชีวิตอย่างรวดเร็วถ้าไม่ได้รับการวินิจฉัยและดูแลรักษาอย่างถูกต้อง โรคนี้นับเป็นสาเหตุที่สำคัญของการป่วยและการตายในเด็กอย่างน้อยใน 8 ประเทศของทวีปเอเชียที่มีโรคนี้ชุกชุม
การวินิจฉัยได้อย่างถูกต้องในระยะแรกมีความสำคัญมากเพราะการรักษาอย่างถูกต้องรวดเร็วเมื่อเริ่มมีการรั่วของพลาสมา จะช่วยลดความรุนแรงของโรคป้องกันภาวะช็อกและป้องกันการสูญเสียชีวิตได้จากลักษณะอาการทางคลินิกของโรคไข้เลือดออกเดงกี ที่มีรูปแบบที่ชัดเจน ทำให้สามารถวินิจฉัยโรคทางคลินิกได้อย่างถูกต้องก่อนที่จะเข้าสู่ภาวะช็อก
ศูนย์ข้อมูลระบาดวิทยาอำเภอปราสาทได้รับรายงานผู้ป่วยไข้เลือดออกเพิ่มขึ้นทุกปีประกอบทั้งโรงพยาบาลปราสาทมีแพทย์หมุนเวียนในการดูแลผู้ป่วยและยังไม่มีแนวทางการวินิจฉัยโรคไข้เลือดออกที่ชัดเจนผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษาเพื่อจะหาแนวทางการดำเนินงานและปัญหาอุปสรรค ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานต่อไป

วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาความถูกต้องของการวินิจฉัยโรคไข้เลือดออกตามเกณฑ์ของ WHO
2. เพื่อศึกษาการได้รับการตรวจเบื้องต้นและการตรวจเบื้องต้นทางห้องปฏิบัติการ ของผู้ป่วยโรค
ไข้เลือดออก

วิธีดำเนินการวิจัย
• รูปแบบการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research ) การวินิจฉัยไข้เลือดออกของโรงพยาบาลปราสาทกับเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก

• ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1. ประชากร ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกที่ได้รับการ วินิจฉัยโดยแพทย์โดยมีวันเริ่มป่วยตั้ง
แต่ 1 ม.ค.49 – 31 ก.ค 2550 และ มารับการรักษา ในรพ.ในโรงพยาบาล ปราสาททุกราย
2 . กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 349 ราย

• เครื่องมือ
1. แบบสอบสวนโรคไข้เลือดออก (กระทรวงสาธารณสุข)
2 . ตารางเปรียบเทียบการวินิจฉัยโรคไข้เลือดออก ตามเกณฑ์ WHO
• การเก็บรวบรวมข้อมูล
1. รวบรวมข้อมูลจากแบบสอบสวนโรค
2. รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยนอกในระบบ LAN และผู้ป่วยในจากChart
3. พิจารณาและลงความเห็นใน ตารางเปรียบเทียบการวินิจฉัยโรคไข้เลือดออก ตามเกณฑ์ WHO
4. ประมวลผล
• วิเคราะห์ข้อมูล
ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน



ผลการวิจัย
1. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป
จากการศึกษาพบว่าเพศหญิงและเพศชายมีจำนวนใกล้เคียงกันโดยส่วนใหญ่มีอายุต่ำกว่า 15 ปีมากถึงร้อยละ 68.2
2 . ผลการวิเคราะห์การได้รับการตรวจเบื้องต้นและการตรวจทางห้องปฎิบัติการ
จากการศึกษาพบว่าผลTurnique test ให้ผลบวก คิดเป็นร้อยละ 61.6 ผลการตรวจเม็ดเลือดขาวในเลือด (WBC) ต่ำกว่า 5,000 เซล/ลบ.มม. คิดเป็นร้อยละ 74.2 การตรวจเกล็ดเลือด (Plt) ต่ำกว่า 100,000 เชล/ลบ.มม. คิดเป็นร้อยละ 96.2 ค่าความเข้มข้นของเลือด (Hct) เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ20 คิดเป็นร้อยละ 97.4
3 ผลการวิเคราะห์การเปรียบเทียบการวินิจฉัยไข้เลือดออกตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก
จากการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่การวินิจฉัยไข้เลือดออกได้ถูกต้องตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลกคิดเป็นร้อยละ 70.5 ดังรายละเอียด
ตารางแสดง จำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามการเปรียบเทียบการวินิจฉัยไข้เลือดออกตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก

ผลการเปรียบเทียบ ( DHF ) จำนวน ร้อยละ

ถูกต้อง 55 70.5
ไม่ถูกต้อง 23 29.5

4. ผลการวิเคราะห์การเปรียบเทียบการวินิจฉัยไข้เดงกี่ตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก
จากการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่การวินิจฉัยไข้เดงกี่ได้ถูกต้องตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลกคิดเป็นร้อยละ 56.8 ดังรายละเอียดในตาราง
ตารางแสดง จำนวนและร้อยละของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามการเปรียบเทียบการวินิจฉัยไข้เดงกี่ตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก

ผลการเปรียบ ( DF ) จำนวน ร้อยละ

ถูกต้อง 154 56.8
ไม่ถูกต้อง 117 43.2
สรุปผล
การวิจัยเชิงพรรณนาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปรียบเทียบการวินิจฉัยไข้เลือดออกของโรงพยาบาลปราสาทกับเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลก กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยทุกรายที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นไข้เลือดออกที่มารับบริการในโรงพยาบาลปราสาท ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2549 – 31 กรกฎาคม 2550 จำนวน 349 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบสอบสวนโรคไข้เลือดออก(กระทรวงสาธารณสุข) และตารางเปรียบเทียบการวินิจฉัยไข้เลือดออกตามเกณฑ์ WHO วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้
เมื่อเปรียบเทียบการวินิจฉัยไข้เลือดออกของโรงพยาบาลปราสาทกับเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลกผลการวิจัยพบว่าโรคไข้เลือดออก( DHF) มีความถูกต้องร้อยละ 70.5 ส่วนการวินิจฉัยโรคเดงกี่ ( DF ) มีความถูกต้องร้อยละ 56.8

อภิปรายผลการวิจัย
ผู้วิจัยขออภิปรายผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
1. ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างพบว่าเพศหญิงและเพศชายจำนวนใกล้เคียงกันส่วนใหญ่มีอายุ
ต่ำกว่า 15 ปีมากถึงร้อยละ 68.2 ผลการศึกษาในครั้งนี้สอดคล้องกับอุบัติการณ์ของการเกิดโรคไข้เลือดออกในกลุ่มประชากรทั่วไปของประเทศไทย (กองระบาดวิทยา.สรุปรายงานเบื้องต้นประจำปี 2549)
2 การวิเคราะห์การได้รับการตรวจเบื้องต้นและการตรวจทางห้องปฎิบัติการจากการศึกษาพบว่า
ผล Turnique test ให้ผลบวก คิดเป็นร้อยละ 61.6 ผลการตรวจเม็ดเลือดขาวในเลือด (WBC) ต่ำกว่า 5,000 เซล/ลบ.มม. คิดเป็นร้อยละ 74.2 การตรวจเกล็ดเลือด (Plt) ต่ำกว่า 100,000 เชล/ลบ.มม. คิดเป็นร้อยละ 96.2 ค่าความเข้มข้นของเลือด (Hct) เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ20 คิดเป็นร้อยละ 97.4 ผลการศึกษาในครั้งนี้สอดคล้องกับงานวิจัยของโรงพยาบาลสกลนคร,2548:บทคัดย่อ ที่พบว่าผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกได้รับการตรวจทูนิเกต์ ร้อยละ 87.5 ตรวจเม็ดเลือดขาว (WBC) ร้อยละ 98.2 ตรวจเกล็ดเลือด (platelet) ร้อยละ 96.2 และได้รับการตรวจความเข้มข้นของเลือด (Hct.) ร้อยละ 96.1
3. การวิเคราะห์การเปรียบเทียบการวินิจฉัยไข้เลือดออกตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลกจากการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่การวินิจฉัยไข้เลือดออกได้ถูกต้องตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลกคิดเป็นร้อยละ 70.5 ส่วนการวินิจฉัยไข้เดงกี่ถูกต้องตามเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลกคิดเป็นร้อยละ 56.8
อภิปรายได้ว่ากลไกการเกิดโรคไข้เลือดออกมีความรุนแรงซึ่งต้องใช้ระยะเวลาในการรักษานาน มากกว่าการเกิดโรคไข้เเดงกี่และแพทย์อาจใช้ข้อมูลอื่นประกอบการตัดสินใจในการวินิจฉัย
ผลการศึกษาในครั้งนี้ สอดคล้องกับงานวิจัยของโรงพยาบาลสกลนคร,2548:บทคัดย่อ ที่พบว่าความถูกต้องของการวินิจฉัยผู้ป่วยโรคไข้เดงกี่ ตามเกณฑ์ WHO ร้อยละ 61.4 ความถูกต้องของการวินิจฉัยผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกเดงกี ตามเกณฑ์ WHO ร้อยละ 72.6



บรรณานุกรม

กรมควบคุมโรค.สำนักระบาดวิทยา. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรคประจำปี 2549.กรุงเทพ:องค์การ
รับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์,2550
กระทรวงสาธารณสุข.คู่มือการดำเนินงานทางระบาดวิทยา.กรุงเทพซองค์การรับส่งสินค้าและพัสดุ
ภัณฑ์,2542
สุจิตรา นิมมานนิตย์. โรคไข้เลือดออก. กรุงเทพฯ : โปรแอก, 2530.
http://www. Moph.go.th
http://www. Whothai.org






โรงพยาบาลปราสาท


ข่าวประชาสัมพันธ์

งานสารสนเทศ

- เชิญสมาชิกเข้าอบรมโปรแกรม HOSxP วันที่1-15 มิ.ย 53 สอบถามรายละเอียดที่ 5018

- ขอเชิญคณะกรรมการสารสนเทศ ประชุมเรื่อง การจัดทำรายงาน ที่ห้องประชุมสไบทอง วันที่ 26 มิ.ย 53



งานIC

- งานIC เชิญชวนสมาชิกICWNและพยาบาลผู้สนใจเข้าร่วมอบรมมาตรฐานการป้องกันการติดเชื้อ ณ ร.พ ท่าตูมวันที่ 14 มิ.ย 53

- ICWN ทุกท่านที่ประเมินหน่วยงานเสร็จแล้วขอให้ส่งผลคะแนนภายใน วันที่ 15 มิ.ย 53



ทีม 5 ส

- ขอเชิญคณะกรรมการ 5 ส ร่วมกิจกรรม รับป้ายทอง วันที่ 27 มิ.ย 53